วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งในวัยรุ่นและความรุนแรง

เรื่อง  ความขัดแย้งของวัยรุ่นและความรุนแรง

                                     
ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน , เด็กวัยรุ่นใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้นนอกจากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คำนึงผลที่จะเกิดตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย
เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตจริงที่เขาดำเนินอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้หรือซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทบาทของเด็กวัยรุ่นนั้นในความรุนแรงนั้น อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นจะตกเป็นผู้ถูกกระทำ ( ถูกทำร้าย ) เป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่และในปัจจุบันพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายและทำร้ายผู้อื่นจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ และผู้ชายโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทั้งผู้ทำร้ายและผู้ถูกทำร้ายสูงกว่าเด็กผู้หญิง ยกเว้นบางกรณีเรื่องทางเพศ กลุ่มเด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำสูงกว่าเพศชายและที่น่าสนใจก็คือ เด็กที่ถูกทำร้ายคนที่เป็นผู้กระทำมักจะเป็นคนใกล้ชิดและมักจะเป็นคนในครอบครัวและสาเหตุการตายความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นมักจะเป็นสาเหตุจากการใช้อาวุธปืน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าสมมุติฐานของความรุนแรงเกิดมาจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ความรุนแรงที่เคยได้รับรู้ได้เห็นมาก่อน
ฉะนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรงจะต้องไม่ให้มีตัวอย่างหรือเห็นความรุนแรงในสังคมให้เด็กได้เห็นหรือเรียนรู้
ปัญหาความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นจะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกัน ส่งเสริมให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านพันธุกรรม , ฮอร์โมน , ความผิดปกติทางด้านร่างกาย , พื้นฐานทางด้านอารมณ์ , การเลี้ยงดู , สภาพทางด้านครอบครัว , วัฒนธรรม , ค่านิยม , ความเชื่อถือ , เชื้อชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์ทางด้านสังคมและกฎหมายต่างๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความรุนแรงที่เราพบเห็นเป็นประจำที่ปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมาก คือ สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่จะชักจูงนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายมากขึ้น คือ พวกเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่างๆ ยา สารเสพติด ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อสิ่งดังกล่าว ถ้าหากไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะมีผลเสียเกิดขึ้นตามมากับเด็กวัยรุ่นมากกว่าผลดีที่เด็กวัยรุ่นควรจะได้รับ
ในอดีตนั้นบุคลากรทางด้านการแพทย์มองปัญหาความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นเป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย ตำรวจ ศาลพิจารณาคดี แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแพทย์จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมทั้งองค์กรต่างๆ ในสังคมทั้งภาครัฐเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากจึงจะทำให้ผลที่เกิดตามมาจากความรุนแรง เช่น การตาย การกระทำความรุนแรงเป็นนิสัยปกติ , การถูกลงโทษกักขังผู้กระทำความรุนแรงหรือความผิดมีจำนวนลดน้อยลงและสังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้สื่อต่างๆ ที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นให้มากที่สุด พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แพทย์ควรได้เข้าไปมีบทบาทพิจารณาดูความเหมาะสมของสื่อต่างๆ ที่มีผลต่อความรุนแรง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสม
2. แพทย์ควรจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกสื่อที่เหมาะ สมและใช้เวลาดูสื่อร่วมกับบุตรหลาน กำหนดระยะเวลาการดูโทรทัศน์ วิดีโอ 1-2 ชั่วโมง / วัน ใช้เครื่องมือ V - chip ป้องกันโปรแกรมที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงวิดีโอหรือเกมส์ที่รุนแรงและไม่ควรมีโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่ในห้องนอนของเด็ก ควรอยู่ในที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลได้ว่าบุตรหลานกำลังทำอะไรอยู่
3. รายการหนัง , วิดีโอ , เกมส์ต่างๆ ที่จะให้เด็กดูหรือเล่น ขณะที่เด็กรอแพทย์ตรวจควรได้มีการตรวจสอบดูความเหมาะสม ควรจะเป็นเรื่องที่ไม่มีความรุนแรงเท่านั้น มีเครื่อง V - chip ป้องกัน คัดกรอง
4. แพทย์ควรให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ โรงเรียนและชุมชนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนเด็ก การใช้สื่อที่เหมาะสมสามารถลดความรุนแรงในเด็กลงได้
5. แพทย์ควรเข้าไปมีบทบาทชี้แนะองค์กรระดับสูงที่ควบคุมนโยบายของประเทศเกี่ยวกับการนำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงที่แฝงอยู่ ทางสื่อต่างๆ ที่จะมีผลเสียกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่น พร้อมหาแนวทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม การให้การบริการทางด้านการแพทย์ ที่จะช่วยลดผลกระทบของสื่อต่อความรุนแรง
6. แพทย์ควรให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์ต่อเด็กให้มากขึ้น ให้ความรู้แก่ ผู้ผลิตสื่อต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก
- หลีกเลี่ยงการนำเสนอการใช้อาวุธหรือพกพา ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความรุนแรงในรูปแบบการแสดงเรื่องเพศหรือในเรื่องอื่นๆ ที่ออกมาในลักษณะสนุกสนาน เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ
- ถ้าต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญและบอกให้ทราบถึงผลกระทบที่จะได้รับตามมาทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำซึ่งจะต้องมีคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่ายที่พ่อแม่สามารถอ่านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
- วิดีโอเกมส์ต่างๆ ไม่ควรใช้คนหรือสิ่งมีชีวิตเป็นเป้ายิงและได้คะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการฆ่าสำเร็จ ต้องนำเอาอายุเด็กมาเป็นข้อพิจารณาดูความเหมาะสมในการเลือกเกมส์แต่ละชนิดสำหรับเด็ก รวมถึงการแจกจ่ายหรือนำเสนอแก่เด็กในช่วงอายุต่าง ๆ
7. แพทย์ควรมีบทบาทช่วยจัดจำแนกระดับของสื่อ , เกมส์ต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
8. แพทย์ต้องเน้นย้ำกับผู้ปกครองว่าสื่อเกมส์ต่างๆ ถ้าผู้ปกครองไม่ซื้อต่อไปผู้ผลิตก็คงจะเลิกไปเอง
สื่อต่างๆ ไม่ว่าโทรทัศน์ วิดีโอเกมส์ วิดีโอเพลง เพลง ภาพยนตร์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดมีผลกระทบต่อความคิดค่านิยมและพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นเพราะในปัจจุบันนี้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เล่มคอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกมส์ต่างๆ มากกว่าทำกิจกรรมอย่างอื่น และเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อต่างๆ ก็มีการพัฒนาให้มีความตื่นเต้นเร้าใจ หลอกล่อให้ผู้เล่นหลงใหลในเกมส์ต่างๆ มากขึ้นโดยลืมผลกระทบที่จะตามมา ภาพยนตร์ที่เหมือนความเป็นจริง และมีคนเป็นผู้แสดงยิ่งทำให้ดูเหมือนจริงและเด็กเลียนแบบได้ง่ายขึ้น
ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้นแล้ว พยายามป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนหรือระดับประเทศ การนำเสนอความรุนแรงควรจะต้องแสดงให้เห็นผลกระทบที่ตามมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญที่สุดคือผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กวัยรุ่น ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไมใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยปลูกฝังและหล่อหลอมเด็กเหล่านี้ เพื่อทำให้ปัญหาความรุนแรงต่าง ๆ คงลดน้อยลงหรือหมดไป
ความขัดแย้งและความรุนแรงในวัยรุ่น
                วัยรุ่น เป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า  วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจใน
ตนเองยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้
โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น  บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้องแต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิดทำให้
เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบันถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่น
ในขณะนี้คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน  ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่นสภาพครอบครัว
สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์  วีดีโอ  เกม  ที่ล้วนมี
ืผลต่อความรุนแรง  เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่ตัว
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคม

      ปัจจัยเสี่ยงเป็นการเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่วัยรุ่นอาจจะใช้ความรุนแรง       โดยสามารถอธิบายถึงปัจจัยเสี่ยง    ดังนี้
ปัจจัยด้านกายภาพ   เช่น เงื่อนไขทางพันธุกรรมการได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองหรือระบบประสาท
ปัจจัยด้านจิตใจ   เช่น ชอบเสี่ยง สมาธิสั้น ชอบความรุนแรงตื่นเต้น
ปัจจัยด้านสถานการณ์    เช่น พ่อแม่โดนจับเพราะกระทำความผิด การทะเลาะบะแว้ง  การหย่าร้าง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม   เช่น ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงมีโอกาสที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
ปัจจัยด้านอิทธิพลของสื่อ   เช่น ชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
ปัจจัยด้านประสบการณ์ของชีวิต   เช่น การถูกทำร้ายหรือทอดทิ้งตั้งแต่เด็ก
ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว   เช่น พ่อแม่เลี้ยงดูแบบเข้มงวด ควบคุมและบังคับลูกเกินไป
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น 
      คือครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น

ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสัมพันธ

์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ

ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ   ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง

      ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  ควรให้คำปรึกษาเข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้

ี้ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดีเพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุโดยทั่วไป

แล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเพื่อนจึงเป็น

สิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวกสืบเนื่องไปจนถึงความ

เป็นสถาบัน  และยึดถือกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้นเราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบัน ยกพวกตีกันมาตั้งแต่

สมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน 
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  

ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็ก

เมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา

ต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง  และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่นไม่ดุด่า  หรือปล่อยจนเกินไป

 เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว  และตีตัวออกห่างจากครอบครัวไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ

และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

ความขัดแย้ง

       เรื่อง ความขัดแย้ง

                                                                    
ความขัดแข้ง  ( Conflict )
                                ในแต่ละวันเราจะพบกับความขัดแย้ง และข่าวของความขัดแย้งทั้งในองค์การ และสังคมทั่ว ๆ ไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมดังที่เหมาเจ๋อตง กล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความขัดแย้งก็ไม่มีโลก ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอบทความนี้เพื่อท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในเรื่องความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง อันนำไปสู่การปรับแนวคิดให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกัน

ความหมายของความขัดแย้ง
                                ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
                                ขัด (หน้า 137) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน
                                แย้ง (หน้า 675) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้
                                สรุปความว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือต่อต้านกัน
                                พจนานุกรมของเวบสเตรอร์ (Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ดังนี้ (หน้า 276)
                                1.  การต่อสู้ การรบพุ่ง การสงคราม
                                2.  (a) การแข่งขันหรือการกระทำที่ตรงกันข้าม (ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความต่างกันในเรื่องความคิดเห็น ความสนใจ หรือบุคลิกภาพ)
                                     (b)  ความคับข้องใจ ซึ่งเกิดมาจากความปรารถนาแรงขับ ความต้องการที่ขัดกันทั้งภายในตัวบุคคลแลภายนอก
                                3.  ได้มีผู้รู้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้งไว้ต่าง ๆ กัน ความหมายที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้
                                ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน
                                ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้
                                ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้
                                ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง
                                จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน

แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง
                                ขอตั้งคำถามวัดความรู้สึกของท่านผู้อ่านว่า ท่านมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัวของท่าน หรือในหน่วยงานของท่าน ? ท่านมีความรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าท่านจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาด ท่านจะวาดเป็นภาพอะไรให้ตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด (นึกไว้หรือจะวาดจริง ๆ สัก 1 ภาพก็ได้)

                                (เฉลย)
                                ถ้าท่านวาดเป็นภาพคนหน้าบึ้งหรือโกรธ (คนส่วนมากวาดภาพนี้) หัวใจแตกร้าว, คนด่าทอกัน, เส้นยุ่ง ๆ คนหันหลังให้กัน คนงัดข้อกัน วิวาทชกต่อยกัน ตลอดจนภาพที่มีไม้ มีด ปืน               ลูกระเบิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ ขอเฉลยว่าท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งแบบโบราณ (เดิม) มองความขัดแย้งเป็นโทษเป็นปัญหา
                                แล้วภาพแบบใดจึงจะไม่โบราณหรือทันสมัย (ใหม่) ภาพที่เป็นกลาง ๆ ได้แก่ เครื่องหมาย + กับ ลูกศรไปคนละทางภาพที่แสดงถึงผู้มีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ทันสมัย                (จะมีจำนวนน้อยมาก) ตัวอย่างภาพที่พบ เช่น เป็นภาพเส้นไม้หรือหวายขัดกัน ผู้วาดอธิบายว่า ไม้ไผ่อ่อน ๆ แต่ละเส้นถ้านำมาขัดกัน จะทำให้เกิดเป็นกระดัง ชะลอม หรือรั้วที่แข็งแรงให้ประโยชน์ได้ดี เป็นการมองว่าความขัดแย้งทำให้เกิดประโยชน์แก่องค์การได้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่รอบคอบขึ้น
                                ผู้วาดอธิบายว่า ความขัดแย้งถ้าเรามองผิวเผินเปรียบเสมือนกองขยะเป็นสิ่งน่ารังเกียรติ มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าคิดให้ลึกซึ้งกองขยะ (ความขัดแย้ง) นั้น มีประโยชน์ เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญออกดอกสวยงามได้ ความขัดแย้งก็เช่นเดียวกันมีประโยชน์ต่อองค์การ เป็นเชื้อ เป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเจริญให้แก่องค์การได้วาดภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอธิบายว่า สังคมประชาธิปไตย ย่อมต้องมีความคิดที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ถือเป็นเรื่องธรรมดา

                                แนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้ง สรุปได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง            แบ่งได้ชัดเจน 2 แนวคิดคือ
                                1.  แนวคิดเดิม ถือว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และเป็นผลร้ายทั้งในส่วนบุคคลและองค์การ เป็นสัญญาณของความผิดพลาดบางอย่างขององค์การ หรือเป็นความล้มเหลวของการบริหาร คนส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงและกลัวการมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ต้องเก็บกด หลีกเลี่ยง หรือกำจัดให้หมดไป ใครก่อปัญหาความขัดแย้งคือตัวแสบขององค์การ
                                2.  แนวคิดใหม่ ถือว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่มีในสังคม และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีทั้งคุณและโทษ ความขัดแย้งจึงมิใช่สิ่งแปลกประหลาดหรือสิ่งที่น่ารังเกียจแต่เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจจนสามารถใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ต้องอาศัยความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะจากการขัดแย้งนั้นจะเกิดมติอันถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ว่า ความขัดแย้งบางอย่างจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์การไม่เฉื่อยชา และมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแต่ความขัดแย้งนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะไม่สูงหรือต่ำเกินไป
                                เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น อาจเปรียบเทียบความขัดแย้งเหมือนกับสัตว์ดุร้ายชนิดหนึ่ง ซึ่งคนโบราณพยายามหลีกหนี หรือฆ่าทิ้งเสียเพราะกลัวอันตราย แต่คนปัจจุบันพยายามศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ดุร้าย แล้วนำมาเลี้ยงมาฝึกให้เชื่อง จนสามารถคุมพฤติกรรมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้


สรุป ความขัดแย้งมีทั้งคุณและโทษ
                                  เป็นปัญหา
คุณประโยชน์                                                       โทษ                                                                                                        -    ความขัดแย้ง                                             -    แตกสามัคคี                                                                                                        -    สร้างสรรค์สามัคคี                                   -     องค์เสื่อม                                                                                                          -   องค์การเจริญ          

                                ความขัดแย้งมีในทุกองค์การหรือหน่วยงาน ถ้ามีในระดับที่พอเหมาะ (ความสามัคคี คือ ความขัดแย้งที่พอเหมาะ) จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลในองค์การได้ใช้ความคิด ความอ่าน ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งาน ตรงกับคำกล่าวที่ว่า “No progress Without conflict” (ไม่เจริญถ้าปราศจากความขัดแย้ง) แต่ถ้ามีความขัดแย้งที่มากถึงระดับที่เป็นปัญหาก็จะทำให้บุคคลในองค์การแตกความสามัคคีทำให้องค์การเสื่อมลงในที่สุด
                                สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ความขัดแย้ง ขัดกันได้และมีส่วนดี แต่อย่ามีนิสัยสร้าง             ความขัดแย้ง แล้วชีวิตจะเป็นสุขครับ